วันที่ 21 มกราคม 2568 นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นางสาวปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวสุพัชร์ อนันทนุพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอระโนด ร่วมดำเนินกิจกรรม พัฒนายกระดับสมาชิก ศจช. ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาศัตรูพืช (หนอนหัวดำมะพร้าว) โดยการใช้แตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ ในการควบคุมกำจัดหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวโดยชีววิธี
วิธีการใช้
- เมื่อสำรวจพบหนอนหัวดำมะพร้าว ให้ปล่อยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ อัตรา 200 ตัวต่อไร่ ทุก 15 วัน ต่อเนื่องกัน 14 ครั้ง
- ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยในช่วงแสงแดดจัด และควรงดพ่นสารเคมีป้องกันจำกัดศัตรูพืชหลังการปล่อย 7 - 14 วัน
สำหรับการใช้แตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ เพื่อให้การควบคุมกำจัดหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้ร่วมกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ได้แก่ การใช้สารชีวภัณฑ์ (เชื้อบีที ) การใช้ชีววิธี การใช้กับดัก การใช้สารสกัดธรรมชาติ การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ และการใช้สารเคมีควบคุมในระยะการระบาดรุนแรง
เนื้อหากิจกรรม
1. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว และการควบคุมกำจัด
2. การผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงหนอน เพื่อใช้เพาะพันธุ์ขยายแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์
3. เกษตรกรได้ทดลองฝึกการใช้แตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์เบียนหนอนศัตรูพืช
4. การสรุปผลวิธีการผลิต และขยายแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ ซึ่งจะมีการติดตามผลต่อเนื่องในวันที่ 30 มกราคม 2568
ทั้งนี้ได้บูรณาการกิจกรรม โดยมีวิทยากร นางสาวจิตทยา ธรรมโชโต นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา สอนการผลิตแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ มีเกษตรกรสมาชิกของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลระโนด เข้าร่วม จำนวน 15 ราย จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
สุพัชร์ อนันทนุพงศ์, สำนักงานเกษตรอำเภอระโนด : ภาพ
#ปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี : ข่าว
ฐิตาภรณ์ อนุสาร : รายงาน

Related News