เกษตรสงขลา “ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการจัดการหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวกับหน่วยงานภาคี เพื่อแก้ไขปัญหาศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่อำเภอสทิงพระ และ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา” songkhla 26/12/2024 วันที่ 20 ธันวาคม 2567 นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนางสาวพนิต วรรณวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นางสาวปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอระโนด ร่วมขับเคลื่อนและให้คำแนะนำในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ - การผลิตขยายแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ โดย นางสาวจิตทยา ธรรมโชโต ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักพืช จังหวัดสงขลา - การจัดการหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสามผสานโดย นางสาวปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี กลุ่มอารักขาพืช - การใช้สารเคมีควบคุมกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว โดย นางสาวสุวิมล วงศ์พลัง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร - การสำรวจ ติดตามให้คำแนะนำในพื้นที่อำเภอระโนด โดย นายนราศักดิ์ ชุมแก้ว เกษตรอำภอสทิงพระ นางสุจิตรา รุ่งรัศมีวิริยะ เกษตรอำเภอระโนด นางสาวพนิต วรรณวงศ์ กลุ่มอารักขาพืช นายวรดล ดวงภักดี สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ และ นางสาวมุกดาวรรณ แก้วเหมือน สำนักงานเกษตรอำเภอระโนด มีเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 20 ราย จัดขึ้น ณ แปลงเกษตรกร หมู่ที่ 2 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ และแปลงเกษตรกร หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สำหรับคำแนะนำการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ดังนี้ 1. หมั่นสำรวจแปลง 2. ทำความสะอาดแปลง 3. ตัดทางใบมะพร้าวที่มีหนอนไปเผาทำลายเพื่อลดจำนวนประชากรหนอน 4. หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุุ่ม ดังนี้ - กลุ่ม 5 สปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร - กล่ม 15 ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร - กลุ่ม 28 คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร - กลุ่ม 28 ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม ฉีดสารเคมีเข้าต้นมะพร้าว -ต้นมะพร้าวความความสูง 4-12 เมตร - ฉีดสาร emamectin benzoate 1.92% W/V EC อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อต้นหรือสาร abamectin 1.8% W/V EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อต้น ต้นมะพร้าวที่สูงเกิน 12 เมตร ฉีดสาร emamectin benzoate 1.92% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อต้นหรือสาร abamectin 1.8% W/V EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น ขั้นตอนการฉีดสารเคมีเข้าต้น 1. เจาะต้นมะพร้าวด้วยสว่านสูงจากพื้นดินประมาณ 0.5-1 เมตร เอียงทำมุม 45 องศา เพื่อป้องกันสารเคมีไหลย้อนออกมา 2. ใส่สารเคมีตามชนิดและอัตราที่แนะนำ 3. ใช้ดินน้ำมันอุดบริเวณรูทันทีเพื่อป้องกันแรงดันที่จะทำให้สารไหลย้อนออกมา หากเกษตรกรพบการเข้าทำลายของหนอนหัวดำมะพร้าว หรือมีปัญหาศัตรูพืชระบาด สามารถแจ้งได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine Continue Reading Previous Previous post: เกษตรสงขลา ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาNext Next post: เกษตรระโนด ร่วมกิจกรรมตามโครงการฝึกอบรมการปลูกพืชอายุสั้นกิจกรรมส่งเสริมการปลูกเมล่อนขององค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา Related News เกษตรสงขลา “ประชุมวางแผนเตรียมจัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green day) ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรสงขลา “ประชุมวางแผนเตรียมจัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green day) ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 10/03/2025 เกษตรสงขลา “จัดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนตำบลนาหม่อม ในกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย เกษตรสงขลา “จัดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนตำบลนาหม่อม ในกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย 10/03/2025