วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว หมู่ที่ 2 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบการระบาด จำนวน 9 ไร่ โดยได้สร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร และแนะนำการจัดการดังนี้
1. หมั่นสำรวจแปลง
2. ทำความสะอาดแปลง
3. ตัดทางใบมะพร้าวที่มีหนอนไปเผาทำลายเพื่อลดจำนวนประชากรหนอน
4. หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุุ่ม ดังนี้
- กลุ่ม 5 สปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร
- กล่ม 15 ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร
- กลุ่ม 28 คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร
- กลุ่ม 28 ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม
ฉีดสารเคมีเข้าต้นมะพร้าว
-ต้นมะพร้าวความความสูง 4-12 เมตร
- ฉีดสาร emamectin benzoate 1.92% W/V EC
อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อต้นหรือสาร abamectin 1.8% W/V EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อต้น
ต้นมะพร้าวที่สูงเกิน 12 เมตร
ฉีดสาร emamectin benzoate 1.92% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อต้นหรือสาร abamectin 1.8% W/V EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น
ขั้นตอนการฉีดสารเคมีเข้าต้น
1. เจาะต้นมะพร้าวด้วยสว่านสูงจากพื้นดินประมาณ 0.5-1 เมตร เอียงทำมุม 45 องศา เพื่อป้องกันสารเคมีไหลย้อนออกมา
2. ใส่สารเคมีตามชนิดและอัตราที่แนะนำ
3. ใช้ดินน้ำมันอุดบริเวณรูทันทีเพื่อป้องกันแรงดันที่จะทำให้สารไหลย้อนออกมา
นอกจากนี้ได้สาธิตการตัดแต่งทางใบเพื่อนำไปทำลาย และประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ ติดตามและรายงานผลต่อเนื่อง
#พนิต วรรณวงศ์ /วรดล ดวงภักดี : ภาพ
ปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี : ข่าว
ฐิตาภรณ์ อนุสาร : รายงาน

Related News