เกษตรสงขลา “ขับเคลื่อนมาตรการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว และติดตามสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง” songkhla 13/11/2024 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นางสาวพนิต วรรณวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ร่วมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา ติดตามสถานการณ์หนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว ระบาดรุนแรง พื้นที่ จำนวน 5 ไร่ ที่ตั้ง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จากการได้รับแจ้งการระบาดของหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว โดยสำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา ซึ่งกลุ่มอารักขาพืชได้ให้คำแนะนำในการจัดการ ควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง โดยใช้มาตรการ ระยะสั้น/เร่งด่วน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดในระดับรุนแรง โดยแนะนำให้ควบคุมด้วยสารเคมี ดังนี้ - ฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiarnide) 20% WG อัตรา 5 กรัม - คลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิตร - สปีนโนแสด (spinosad) 129% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร - ลูเฟนนูรอน (ufenuron) 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมสารตามอัตราที่กำหนดผสมน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ให้ทั่วทรงพุ่ม จะมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดได้ประมาณ 2 สัปดาห์ และเพื่อเป็นการจัดการหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้การจัดการแบบผสมผสาน ได้แก่ - การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ โดยหลังจากฉีดพ่นสารเคมีประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถปล่อยแตนเบียน เช่น แตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ อัตรา 200 ตัวต่อไร่ - การใช้วิธีกล โดยตัดทางใบที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลาย - การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) พ่นหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 - 10 วัน อัตรา 80 - 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ อัตราตามคำแนะนำในฉลาก ไม่ควรพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัดเพราะจะทำให้เชื้อบีทีอ่อนแอ ควรพ่นช่วงเช้าก่อนเวลา 10.00 น. หรือช่วงเย็นหลังเวลา 16.00 น. จากการติดตามสถานการณ์หนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว เบื้องต้น ไม่พบหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวที่มีชีวิตในพื้นที่การระบาด เนื่องจากได้มีการฉีดพ่นสารเคมีตามคำแนะนำ แต่ยังพบร่องรอยทางใบที่ถูกทำลาย โดยแนะนำและสาธิตการตัดทางใบเพื่อนำไปทำลาย และมีการปล่อยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ ในพื้นที่เฝ้าระวังซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงที่จะเกิดการระบาด นอกจากนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา สร้างการรับรู้ แจ้งเตือนระบาดศัตรูมะพร้าว ติดตามและรายงานสถานการณ์การระบาดทุกเดือน โดยการดำเนินงานตาม “โมเดล การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว จังหวัดสงขลา” ซึ่งมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา #พนิต วรรณวงศ์ : ภาพ ปิ่นกัลยรัตน์ จันทรัศมี : ข่าว ฐิตาภรณ์ อนุสาร : รายงาน #สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา #กลุ่มอารักขาพืช Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine Continue Reading Previous Previous post: เกษตรสงขลา ร่วมประชุมติดตามและชี้แจงการดำเนินงานโครงการพัฒนาตามศักภาพของพื้นที่ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาNext Next post: บัญชีนวัตกรรมไทย Related News เกษตรสงขลา “ประชุมวางแผนเตรียมจัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green day) ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรสงขลา “ประชุมวางแผนเตรียมจัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green day) ภายใต้โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 10/03/2025 เกษตรสงขลา “จัดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนตำบลนาหม่อม ในกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย เกษตรสงขลา “จัดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรทุเรียนตำบลนาหม่อม ในกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย 10/03/2025